กสิกรไทยเผยยอดใช้ K PLUS พุ่ง มีธุรกรรมผ่านแอปฯ 1 ล้านรายการต่อ ชม.

กสิกรไทยเผยยอดใช้ K PLUS พุ่ง มีธุรกรรมผ่านแอปฯ 1 ล้านรายการต่อ ชม.

การเงิน

ธนาคารกสิกรไทย เผยปี 65 มียอดผู้ใช้ K PLUS พุ่ง เพิ่มขึ้น 2 ล้านราย การทำธุรกรรมโตก้าวกระโดด 53% หรือประมาณ 1 ล้านรายการต่อชั่วโมง ยอดเงินธุรกรรมผ่าน K PLUS แตะ 10 ล้านล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK กล่าวว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีคนจำนวนมากกว่า 2 ล้านคน สมัครใช้งาน K PLUS ของเรา โดยในจำนวนนี้ มีมากกว่า 1 ล้านคน เป็นผู้ที่เพิ่งใช้บริการธนาคารกสิกรไทยเป็นครั้งแรก

โดยความนิยมแพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทยที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มภาคภูมิ โดยปัจจุบันธุรกรรมของธนาคารกสิกรไทย เป็นธุรกรรมที่ทำผ่านระบบออนไลน์ถึง 98%

ทั้งนี้ ผลจากการเติบโตของธุรกรรมออนไลน์ดังกล่าว ทำให้ธนาคารกสิกรไทยสร้างสถิติใหม่ โดยเป็นครั้งแรกที่ยอดเงินโอนผ่าน K PLUS มากกว่ายอดเงินโอนผ่านช่องทางอื่นๆ ทั้งหมดของธนาคารรวมกัน ทั้งการทำธุรกรรมที่สาขาธนาคาร เครื่องทำรายการอิเล็กทรอนิกส์ และตัวแทนธนาคาร

“ด้วยเทคโนโลยีของเรา ทำให้คนจำนวนมากขึ้น ได้รับประโยชน์จากบริการธนาคาร ในแต่ละชั่วโมงมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 1 ล้านรายการต่อชั่วโมง”

นอกจากนั้น ยอดเงินที่เป็นการทำธุรกรรมผ่าน K PLUS ยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมียอดเงินสูงเกือบ 10 ล้านล้านบาท ในปี 2565 โดยการเติบโตดังกล่าวช่วย ตอกย้ำความเป็นผู้นำของธนาคารกสิกรไทย ในฐานะธนาคารดิจิทัลอันดับหนึ่งของไทย

นางสาวขัตติยา กล่าวอีกว่า ความนิยมที่เพิ่มขึ้น ทำให้เรามีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ตามไปด้วย ที่จะต้องก้าวล้ำไปข้างหน้ากับเทคโนโลยีต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการธนาคารได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยระบบที่มีเสถียรภาพสูง นั่นเพราะวิสัยทัศน์ของเรา มองไปไกลเกินกว่าขอบเขตประเทศไทย โดยเป้าหมายของเราอยู่ที่การเป็นผู้นำการให้บริการธนาคารดิจิทัลที่ดีที่สุดระดับภูมิภาค

อัพเดทการเงิน มาใหม่ แนะนำเพิ่มเติม :  อาคม ดึง 3 หน่วยงานสังกัดคลัง ร่วมมือส่งเสริมการออม-สกัดภัยการเงิน

อาคม ดึง 3 หน่วยงานสังกัดคลัง ร่วมมือส่งเสริมการออม-สกัดภัยการเงิน

รมว.คลัง ดึง “สคฝ.-กยศ.-กอช.” ผนึกกำลังส่งเสริมวินัยการออม-สร้างความรู้ความเข้าใจการคุ้มครองเงินฝาก-สร้างภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันภัยการเงิน

วันที่ 8 มีนาคม 2566 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) กับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ สคฝ. กับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

เรื่อง “การส่งเสริมการออมและการคุ้มครองเงินฝาก รวมถึงความรู้ทางการเงินเจาะกลุ่มประชาชน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นวินัยการออม สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคุ้มครองเงินฝากและการวางแผนทางการเงิน รวมถึงรู้เท่าทันภัยทางการเงิน ปูทางสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว”

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการ สคฝ. กล่าวว่า ตลอดช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา สคฝ.ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านกระบวนการภายใน ระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร เพื่อรองรับพันธกิจในการคุ้มครองผู้ฝากเงินและชำระบัญชีสถาบันการเงิน หากเกิดวิกฤต สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองประสบปัญหาจนต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต

การเงิน เศรษฐศาสตร์

นอกจากภารกิจหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ “พร้อมคุ้มครอง เคียงข้างคุณ” โดยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบคุ้มครองเงินฝากของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและลดความตื่นตระหนกให้กับประชาชนผู้ฝากเงิน

“การลงนามความร่วมมือที่ สคฝ.ได้ทำร่วมกับ กอช. และ กยศ. ในครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่มีความสำคัญภายใต้กลยุทธ์การเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมการเงิน

อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การทำงานร่วมกันในหลากหลายมิติเพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้พื้นฐานทางการเงินและตระหนักถึงการวางแผนการออมเงินอย่างถูกวิธีก่อนเข้าสู่วัยทำงาน”

นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ กอช. กล่าวว่า กอช.ได้มุ่งสร้างฐานการออม ขับเคลื่อนบำนาญภาคประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่ยังไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการจากรัฐได้วางแผนการออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสภาพ

โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษา ออมเงินกับ กอช. เริ่มตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป เมื่อเข้าระบบการทำงานเป็นข้าราชการ มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือพนักงานบริษัทเอกชน มีประกันสังคม สามารถออมเงินกับ กอช. ต่อเนื่อง จนถึงอายุ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบำนาญสองรูปแบบ คือ เงินออมขณะอยู่ในวัยเรียนจะได้รับเป็นเงินบำนาญรายเดือน ส่วนเงินที่ออมขณะอยู่ในช่วงระบบการทำงานจะได้รับเป็นเงินก้อน

ทั้งนี้ กอช.ได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ เสริมสร้างความเข้าใจ ให้เกิดการตระหนักถึงการวางแผนทางการเงินในอนาคต รวมถึงการรู้เท่าทันภัยทางการเงิน ตั้งแต่วัยเรียน วัยทำงาน และวัยใกล้เกษียณ ให้มีการจัดสรรเงินที่ดี โดยเริ่มจากการแบ่งเงินรายรับ ใช้จ่ายหนี้สิน แบ่งเก็บออม จึงนำไปใช้สอยจับจ่ายในชีวิตประจำวัน

ซึ่งการออมกับ กอช. เป็นหนึ่งของสวัสดิการบำนาญจากรัฐในกลุ่มของอาชีพอิสระ ที่จะทำให้คุณและครอบครัว ได้มีความมั่นคงทางการเงินในอนาคต

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการ กยศ. กล่าวว่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้ร่วมมือกับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืม ศิษย์เก่าผู้กู้ยืม ครู อาจารย์ รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบคุ้มครองเงินฝากและความรู้ทางการเงินพื้นฐาน สามารถวางแผนการเงินในระยะยาว รู้วิธีการวางแผนการจัดสรรรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

ปัจจุบัน กองทุนมีนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจากกองทุนไปแล้วจำนวนกว่า 6.4 ล้านราย โดยมีผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโทกว่า 6 แสนราย

กองทุนคาดหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษาในการเตรียมความพร้อมด้านการเงินหรือสร้างโอกาสเพิ่มเติมให้แก่ตนเอง ตลอดจนสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมให้กองทุนได้ตามกำหนด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่รุ่นน้องต่อไป

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และสื่อความรู้การคุ้มครองเงินฝาก การออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ และรายละเอียดการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ได้ผ่านช่องเว็บไซต์ www.dpa.or.th หรือเพจเฟซบุ๊ก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก DPA และช่องทางการสื่อสารของ กอช. ได้ที่เว็บไซต์ www.nsf.or.th หรือเพจเฟซบุ๊ก กองทุนการออมแห่งชาติ – กอช. และช่องทางการสื่อสารของ กยศ. ได้ที่เว็บไซต์ www.studentloan.or.th หรือเพจเฟซบุ๊ก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ข่าวแนะนำ : สถานะธนาคารรัฐทั้งหมดยังแข็งแกร่ง

สถานะธนาคารรัฐทั้งหมดยังแข็งแกร่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศหลายแห่ง ทั้งทริสเรทติ้ง, มูดีส์ อินเวสเตอร์ส และฟิทช์ เรทติ้งส์

ธนาคารรัฐ

ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน ของรัฐหลายแห่ง ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิม แบงก์) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยพบว่าแม้ต้องเผชิญวิกฤติโควิด-19 และเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน แต่สถานะธนาคารรัฐทั้งหมดยังแข็งแกร่ง และคงอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ระดับสูง

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ทริส เรทติ้ง ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ ธอส.ในระดับ AAA เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน รวมทั้งแนวโน้มอันดับเครดิตในระดับคงที่เช่นเดียวกับมูดีส์ที่คงอันดับเครดิตองค์กรในระดับ Baa1 และ แนวโน้มอันดับเครดิตระดับคงที่ ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร และบริหารจัดการหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหนี้เสียต่ำกว่า 5% ของสินเชื่อคงค้าง และ ตั้งสำรองหนี้สูญไว้สูงถึง 185%

ขณะที่นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) คงอันดับเครดิตภายใน ประเทศระยะยาวของธนาคารที่ AAA เป็นปีที่ 17 ติดต่อกัน และมี แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในบทบาท ของธนาคารในการพัฒนาประเทศหลังโควิด อีกทั้งผลดำเนินงานยังดีขึ้น พลิกจากขาดทุนสุทธิเกือบ 1,340 ล้านบาทในปี 63 เป็นกำไรสุทธิ 1,531 ล้านบาท ในปี 64 สูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งมา

ด้านนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารที่ระดับ AAA เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน และแนวโน้มอันดับเครดิตคงที่ โดยทริสมองบทบาทอันแข็งแกร่งของธนาคารในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลช่วงโควิดระบาด

ที่สำคัญมีกำไรสุทธิปี 64 ถึง 52.2% ของกำไรสุทธิของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งหมด ส่วนนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า ฟิทช์เรทติ้งส์ คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่สูงสุด AAA และแนวโน้มอันดับเครดิตคงที่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 สะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง

อ่านเพิ่มเติม คลิ๊กเลย : KBank ชูกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลกสู้ความผันผวน เปิดขาย 3-12 ต.ค.นี้

KBank ชูกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลกสู้ความผันผวน เปิดขาย 3-12 ต.ค.นี้

KBank ชูกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลกสู้ความผันผวน เปิดขาย 3-12 ต.ค.นี้

KBank Private Banking เปิดขายกองทุน “หุ้นนอกตลาดทั่วโลก” ชี้เป็นทางเลือกเพิ่มผลตอบแทนลงทุนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน-ตลาดทุนผันผวน ชู K-GPE22B-UI เสนอขายครั้งแรกให้กับลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง 3-12 ต.ค.นี้ เริ่มต้นลงทุนเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น คาดระดมทุนได้กว่า 7 พันล้านบาท สร้างผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 15% ต่อปี

KBank ชูกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลกสู้ความผันผวน เปิดขาย 3-12 ต.ค.นี้

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Senior Managing Director, Private Banking Business Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า KBank Private Banking มุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มขอบข่ายการลงทุนและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีการแกว่งตัวสูง การหาผลตอบแทนทำได้ยากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ทำให้หุ้นนอกตลาด หรือไพรเวทอิควิตี้ (Private Equity) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สามารถลดความผันผวนของพอร์ตได้ เนื่องจากราคาจะไม่ผันผวนตามตลาดหลักทรัพย์ แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานจริงของธุรกิจ
โดยสถิติย้อนหลังของผลตอบแทนของหุ้นนอกตลาดผันผวนต่ำกว่าสินทรัพย์อื่น* นอกจากนี้ยังช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงธุรกิจซึ่งอยู่ในวัฏจักรที่หลากหลาย และได้รับประโยชน์จากการเติบโตของกิจการก่อนที่จะเข้าตลาด ทำให้เป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นนอกตลาดสูงกว่าสินทรัพย์กลุ่มอื่นๆ โดยผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ของหุ้นนอกตลาดอยู่ที่ 19.8% ซึ่งสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนสูงกว่าการลงทุนในหุ้นสหรัฐมากถึง 5.6%** มีเสถียรภาพกว่าในระยะยาว และยังเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน”

ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier พันธมิตรทางธุรกิจนำเสนอกองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) ของบริษัทต่างประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 2 กองทุน โดยในปี 2562 ได้แนะนำกองทุน K-GPE19A-UI ซึ่งลงทุนในกิจการที่มั่นคง มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 72% ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน หรือเฉลี่ยกว่า 19% ต่อปี และในปี 2563 ได้แนะนำกองกองทุน K-GTPE20A-UI ซึ่งลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี และเป็นแหล่งสร้างการเติบโตที่สำคัญ โดยสามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 22% ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน หรือ เฉลี่ยกว่า 11% ต่อปี
ล่าสุด KBank Private Banking ได้เสนอขายกองทุนหุ้นนอกตลาดใหม่ อย่างกองทุน K-GPE22B –UI (K Global Private Equity 22B Not for Retail Investors) โดยมี Lombard Odier เป็นผู้จัดการกองทุนหลักซึ่งมีประสบการณ์ลงทุนในไพรเวทมาร์เก็ตมาเป็นเวลานาน โดยกองทุนนี้มี 7 จุดเด่นสำคัญ ได้แก่

– กระจายและเข้าถึงการลงทุนในบริษัททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในสหรัฐ ยุโรป และบางส่วนในเอเชีย

– ลงทุนในหลายช่วงอายุของบริษัท ผสมผสานการลงทุนแบบ Buyouts ในธุรกิจที่มั่นคง ควบคู่กับการเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในธุรกิจเติบโตสูง (Growth) และในธุรกิจที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง (Venture Capital)
– ลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมกว่า 50 ธุรกิจ อาทิ ME+EM แบรนด์แฟชั่นร่วมสมัยของอังกฤษสำหรับผู้หญิง คุณภาพดี ราคาไม่สูง RIPPLING แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารด้าน HR และ IT สหรัฐฯ Precisely ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านการตวรจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น

– มีนโยบายการลงทุนที่เรียกเงินทุนเพียงครั้งเดียว (One-off Capital Call) แตกต่างจากกองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วไปที่มักเรียกเงินลงทุนหลายครั้ง (Multiple Call)

– กองทุนมีอายุเพียง 9 ปี ซึ่งสั้นกว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดอื่น ๆ

– เริ่มต้นลงทุนเพียง 1 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดอื่น ๆ และการระดมทุนในประเทศไทยในหน่วยไทยบาทยังช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

– สร้างผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยสูงถึง 15% ต่อปี ตลอดระยะเวลาการลงทุน

“ท่ามกลางความผันผวนของตลาด KBank Private Banking เชื่อว่ากองทุนหุ้นนอกตลาดเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่จะยังมีผลงานที่โดดเด่น และสามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นที่น่าพอใจให้กับลูกค้าได้ ทั้งนี้ยังมีแผนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
นอกจากกองทุนหุ้นนอกตลาดแล้ว จะมีการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Global Private Debt (ตราสารหนี้นอกตลาดทั่วโลก) Global and Local Private Real Estate (อสังหาริมทรัพย์นอกตลาดทั้งทั่วโลก และในประเทศไทย) Quantitative Hedge Fund Strategy (กองทุน Hedge Fund ที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนด้วยกระบวนการคณิตศาสตร์และสถิติจากข้อมูลเชิงปริมาณ) และ Exotic Structured Note (หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงแบบต่าง ๆ) เพื่อเสริมทางเลือกและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนต่อไป” ดร.ตรีพลกล่าว