ทางออกของคนที่ความรักจบ แต่ผ่อนบ้านยังไม่จบ

ทางออกของคนที่ความรักจบ แต่ผ่อนบ้านยังไม่จบ

ออกแบบ

การซื้อที่อยู่อาศัยทุกวันนี้ มักจะเป็นการกู้ซื้อร่วมระหว่างคู่รักหรือสามี-ภรรยา แต่ใจคนเรานั้นยากแท้หยั่งถึง และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่มีอะไรการันตีว่าจะอยู่กันไปจนชั่วฟ้าดินสลาย เมื่อถึงเวลาต้องแยกย้าย แต่ดันถือหนี้บ้านที่ต้องช่วยกันผ่อน หนทางที่ดีที่สุดคือต้องหาทางออกร่วมกัน ซึ่งมีทั้งแบบแยกกัน แล้วยกให้อีกฝ่ายผ่อนต่อไปเลย หรือขายแล้วเอาเงินมาแบ่งเป็นสองส่วนเท่ากัน ซึ่งทั้งสองวิธีมีวิธีการที่ต่างกันไป ทีนี้มาดูกันว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

ยกให้อีกฝ่ายผ่อนต่อไปเลยและถอดชื่อผู้กู้ร่วม

การยกให้อีกฝ่ายผ่อนต่อไปเลย หมายถึง คนที่ยกให้ต้องยินยอมที่จะเดินออกมามือเปล่า หรือที่ผ่านมาไม่ได้ช่วยเขาผ่อน ให้ชื่อไปกู้ร่วมเฉย ๆ แบบนี้ก็ถือว่าจบสวย แต่ก่อนจะจบสวย ๆ เมื่อเลิกกันแล้วก็ต้องไปถอดชื่อตนเองในฐานะผู้กู้ร่วมออก เมื่อตกลงกันแล้วว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะผ่อนบ้านหลังนี้ต่อ ให้ไปติดต่อธนาคารเพื่อขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมออก โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ สำหรับคู่ที่จดทะเบียนสมรสกัน ให้นำเอกสารการจดทะเบียนหย่า ทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างอดีตสามี-ภรรยา เพื่อนำไปขอสินเชื่อใหม่สำหรับฝ่ายที่จะผ่อนต่อ และเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

หลังจากนั้นไปโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน ซึ่งค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร และภาษีธุรกิจเฉพาะจะได้รับการยกเว้น เพราะเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านหลังจดทะเบียนสมรสแล้ว บ้านหลังนี้จึงถือเป็นสินสมรส สำหรับกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นคนถือกรรมสิทธิ์ต่อในฐานะผู้กู้คนเดียว และแจ้งขอถอดชื่อผู้กู้ร่วมอีกคนออกเนื่องจากการเลิกรากัน จากนั้นธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อนชำระว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะผ่อนต่อคนเดียว หากไม่สามารถผ่อนต่อคนเดียวได้ จะต้องหาผู้กู้ร่วมใหม่ที่เป็นเครือญาติของผู้กู้ แต่หากประเมินแล้วว่าสามารถผ่อนต่อคนเดียวไหว ขั้นต่อไป คือทำสัญญาจะซื้อจะขาย และโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นของอีกฝ่าย ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้านและที่ดิน

ขายบ้านเพื่อจบปัญหา

ขายบ้านจบปัญหา หากตกลงกันทั้งสองฝ่ายแล้วว่าจะไม่เก็บบ้านหลังนี้ไว้ การขายบ้านเพื่อจบปัญหาก็ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีกับทุกฝ่าย เพราะไม่ต้องเป็นภาระในการผ่อนต่อของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และสามารถเคลียร์ยอดหนี้กับธนาคารได้ โดยการขายบ้านอาจต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กรณีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อขายบ้านได้แล้ว เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

ข่าวแนะนำ : งานศิลปะวันสตรีสากล “SHE-POSSIBLE ทุกบทบาทของผู้หญิงเป็นไปได้”

งานศิลปะวันสตรีสากล “SHE-POSSIBLE ทุกบทบาทของผู้หญิงเป็นไปได้”

เรื่องเล่าผ่านงานศิลปะของ 8 อาร์ติสท์หญิง เนื่องใน ‘วันสตรีสากล’ “SHE-POSSIBLE ทุกบทบาทของผู้หญิงเป็นไปได้ ” สะท้อนความคิดของผู้หญิงที่มีต่อสังคมไทย

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลปีนี้ เซ็นทรัลและโรบินสัน ร่วมฉลองความเป็นผู้หญิง จัดงาน “SHE-POSSIBLE ให้ทุกบทบาทของผู้หญิงเป็นไปได้”ชวน 8 อาร์ติสท์หญิงแถวหน้าของเมืองไทย นำโดย บี – ชนิดา อรุณรังสี, อร – จารุอร ทองไทย, แป้ง – ต้องจิตต์  ต่อสุวรรณ, อัยยา มัณฑะจิตร, นท พนายางกูร, ผ้าป่าน – สิริมา ไชยปรีชาวิทย์, แพรว – กวิตา วัฒนะชยังกูร และ ปานพรรณ ยอดมณี รังสรรค์ผลงานศิลปะ พร้อมจัดประมูลนำรายได้ช่วยเหลือผู้หญิงทั่วประเทศ

ถ่ายทอดเรื่องราวของ PHOENIX (นกฟีนิกซ์) สัญลักษณ์ของการ Reborn และ Freedom โดยทั้ง 2 สิ่งบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งภายในของนกฟีนิกซ์ ที่พร้อมเผาตัวตนในเวลาที่เหมาะสม เพื่อการเกิดขึ้นใหม่ ผ่านเทคนิคการวาด OIL-ON-RAW CANVAS ดูพลิ้วไหวแต่ทรงพลัง

ออกแบบกราฟฟิก

นำเสนอเทคนิคการวาดภาพอะคริลิคลงบนผ้าใบผืนงาม ถ่ายทอดเรื่องราวนักเดินทางอิสระ ด้วยแนวคิดที่ว่าเธอทำได้! กับการเป็นนักเดินทางอิสระที่จะออกไปสำรวจโลกกว้างใบนี้ เพื่อจะได้เห็นสิ่งต่างๆ ตลอดการเดินทาง โอบกอดมันไว้แล้วเผชิญหน้าทุกสิ่งที่ท้าทายด้วยตัวเธอเอง และเธอจะกลับบ้านไปพร้อมความทรงจำที่คาดไม่ถึง ที่สามารถแชร์ให้คนที่เธอรักได้ฟัง

แม้ความเท่าเทียมทางเพศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ แต่แนวคิด “ชายเป็นใหญ่” กลับยังคงมีอยู่แทบทุกที่ ทั้งในครอบครัว ที่ทำงาน และสื่อ ยังมีผู้หญิงมากมายถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากอคติทางเพศของคนในสังคม ผ่านเทคนิคการวาดสีน้ำมัน ที่มีสีสันฉูดฉาดตัดกันของสีโทนร้อนและเย็น ทำให้ภาพดูจริงจัง เปี่ยมด้วยพลัง

นำเสนอเทคนิคการวาดสีอะคริลิค ถ่ายทอดแม่และลูกสาว ที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัวและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยภาพหลังเป็นคาแรกเตอร์คุณแม่ที่สร้างของเล่นเป็นบ้าน เปรียบดั่งความสำเร็จที่วางเอาไว้ ส่วนลูกที่กำลังสร้างของเล่น เปรียบเหมือนเราที่จะสร้างอนาคตให้สำเร็จ โดยมีคุณแม่เป็นแบบอย่างนั่นเอง

นำเสนอเทคนิค Film Photograph Printed on Metal โดยเป็นภาพถ่ายสารคดีของเธอระหว่างทริปที่อินเดีย บอกเล่าถึงเด็กน้อยไร้ใบหน้าในเครื่องแบบนักเรียนท้องถิ่นสีขาว ขณะที่เด็กนักเรียนหญิงส่วนใหญ่สวมใส่ชุดสีขาวนี้ยืนอยู่ด้านหลังด้วยโทนสีขาวดำ

แต่ยังมีเด็กสาวที่เยาว์วัยที่สุดในชุดสีชมพูปักคริสตัลระยิบระยับ ยืนโดดเด่นตรงหน้าท่ามกลางเด็กเหล่านั้น ผลงานชิ้นนี้ต้องการเน้นย้ำให้เห็นถึง “ทฤษฎีรื้อสร้าง” ระบบโครงสร้าง โอบรับความคิดใหม่ จงกล้าหาญและแตกต่าง ซึ่งนี่คือเครื่องมือที่ทรงพลังในการต่อต้านความอคติเรื่องเพศและความเท่าเทียมกันในสังคม

ข่าวแนะนำ : ออกแบบอย่างไร? ให้โดนใจคนจ้างงาน ผู้ประกอบการ

ออกแบบอย่างไร? ให้โดนใจคนจ้างงาน ผู้ประกอบการ

ออกแบบอย่างไร? ให้โดนใจคนจ้างงาน ผู้ประกอบการ

รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565 สาขาการออกแบบ (Design) จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ระบุว่า อุตสาหกรรมการออกแบบของไทยมีจำนวนแรงงานประมาณ 2 หมื่นคน และมีรายได้รวมของธุรกิจในอุตสาหกรรมสูงเกือบ 2 พันล้านบาทในปี 2564 ทั้งยังเชื่อมโยงใกล้ชิดและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม โดยช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการต่าง ๆ อีกด้วย

ขณะที่ สาขาสถาปัตยกรรม (Architecture) ซึ่งมีแรงงานประมาณ 3.6 หมื่นคน สร้างรายได้รวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาทในปี 2564 เชื่อมโยงใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย ศักยภาพของแรงงานสร้างสรรค์ในสาขานี้ สามารถยืนยันได้จากการที่ผลงานของสถาปนิกไทยได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ เช่น Architecture Masterprize โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 16 จาก 60 ประเทศ มาร่วมพลิกโฉมอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมไทย เพื่อก้าวเป็นดาวรุ่งที่สดใส ด้วยเป้าหมายรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 5.8 ในช่วงปี 2566-2570

ออกแบบ

“จากการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Creative Industries ประเทศไทยไว้ทั้งหมด 15 สาขา สาขาการออกแบบและสาขาสถาปัตยกรรม เป็นสาขาดาวรุ่นที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้มหาศาล” ดังนั้น การเตรียมพร้อมศักยภาพ ทรัพยากรบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะการจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ หรือคุณค่าทางสังคมได้ ต้องผลิตพัฒนาคนให้กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

“ออกแบบ” งานกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่เพียงการวาดรูป

“คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม” มหาวิทยาลัยที่สอนการเรียนออกแบบ Design เท่ากับการเรียนกระบวนการคิดและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นอย่างเข้าใจได้ ไม่ใช่เพียงศาสตร์แห่งการวาดรูป ซึ่งคำว่า Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะ

“ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์” คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล่าว่าม.ศรีปทุม จะให้ความสำคัญในการเรียนที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งนี่คือแนวทางที่มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนมาตลอด โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ของโลก และมีการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เชื่อมโยงอุตสาหกรรมภายนอก

แนะนำข่าวออกแบบเพิ่มเติม : สานผ้าทอไทย สู่สากล

สืบสานผ้าทอไทย สู่สากล

ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (ที่ 2 จากซ้าย) กับ 3 ดีไซเนอร์คนเก่ง วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข, พลัฎฐ์ พลาฎิ และธีระ ฉันทสวัสดิ์

ชาย นครชัย

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมมือกับศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดงาน “โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม (การออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทย) กิจกรรมการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากลและค่ายวัฒนธรรม (Weaving Dialog)” เพื่ออนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม สืบสาน และสืบทอดวัฒนธรรมของชาติ พร้อมทั้งจุดประกายทางความคิดใหม่ๆ ทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยได้เริ่มกิจกรรมแรกด้วยการนำผ้าทอ ผ้าพื้นเมือง และงานหัตถกรรม มาจัดแสดงแฟชั่นโชว์ ณ ชั้น 16 อาคารศรีจุลทรัพย์ ถนนพระราม 1

บรรยากาศในงานคึกคักไปด้วยคนในวงการแฟชั่น ที่มาร่วมชื่นชมผลงานผ้าทอของไทยที่ถูกนำเสนอในรูปแบบสากล จากฝีมือการออกแบบของ 3 นักออกแบบชื่อดัง ได้แก่ พลัฎฐ์ พลาฎิ จากแบรนด์ Realistic Situation, ธีระ ฉันทสวัสดิ์ จากแบรนด์ T-ra และวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข จากแบรนด์ WISHARAWISH ซึ่งได้ลงพื้นที่ในหลายจังหวัด เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาผ้าและเทคนิค พร้อมทั้งสร้างสรรค์จนออกมาเป็น 3 คอลเลกชั่นที่สวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้เข้าชม ซึ่งผู้สนใจสามารถชมนิทรรศการและงานออกแบบเชิงสร้างสรรค์นี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน