อิลอน มัสก์’ นำทีมกูรูไอที วอนยุติพัฒนาปัญญาประดิษฐ์-อ้างสร้างความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ

อิลอน มัสก์’ นำทีมกูรูไอที วอนยุติพัฒนาปัญญาประดิษฐ์-อ้างสร้างความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ

เทคโนโลยี

อิลอน มัสก์ ซีอีโอเทสลา และผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รวมทั้งบรรดาผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ออกหนังสือเปิดผนึก เรียกร้องให้ระงับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังกว่า GPT-4 โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์รุ่นล่าสุดของบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) เป็นเวลา 6 เดือน โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความเสี่ยงต่อสังคมและมนุษยชาติ ตามรายงานของรอยเตอร์

หนังสือเปิดผนึกจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร Future of Life Institute ลงนามโดยผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รวมทั้งบรรดาผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 คน อาทิ นักวิจัยจากบริษัทดีพไมน์ (DeepMind) โยชัว เบนจิโอ ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน “เจ้าพ่อแห่งปัญญาประดิษฐ์” รวมทั้งมัสก์ ซึ่งรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าของบริษัทเขาใช้ AI ในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เรียกร้องให้ระงับการพัฒนา AI จนกว่าจะมีการจัดทำกฎระเบียบเกี่ยวกับการออกแบบปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนา การนำไปปฏิบัติ และได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ

บางส่วนของหนังสือเปิดผนึกนี้ ระบุว่า “ระบบปัญญาประดิษฐ์อันทรงพลังควรได้รับการพัฒนาเมื่อเรามั่นใจได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบเชิงบวกและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้”

รายละเอียดของหนังสือเปิดผนึกนี้ ยังอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อสังคมในแง่ที่ว่าระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มีการทำงานแข่งขันกับมนุษย์จะทำให้เกิดการหยุดชะงักในด้านเศรษฐกิจและการเมือง และเรียกร้องให้ผู้พัฒนา AI ทำงานร่วมกับผู้กำหนดนโยบายในเรื่องการออกมาตรการควบคุมเพิ่มเติม

อ้างอิงจากข้อมูลของหน่วยงานด้านความโปร่งใสของสหภาพยุโรป องค์กรไม่แสวงผลกำไร Future of Life Institute ได้รับเงินสนับสนุนหลักจาก Musk Foundation, Founders Pledge และ Silicon Valley Community Foundation

เมื่อต้นเดือนมีนาคม บริษัทโอเพนเอไอที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ GPT (Generative Pre-trained Transformer) รุ่นที่ 4 ในชื่อ GPT-4 ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับผู้ใช้งานด้วยศักยภาพอันหลากหลาย ตั้งแต่การตอบโต้ด้วยสนทนาคล้ายมนุษย์ไปจนถึงการประพันธ์เพลงและสรุปความเอกสารยาวเหยียดได้ดั่งใจ

ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากปัญญาประดิษฐ์นี้มีขึ้นหลังจากยูโรโพล แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว และเตือนถึงโอกาสการนำไปใช้ในทางที่ผิด อย่างเช่น การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบฟิชชิง การนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือน และอาชญากรรมไซเบอร์ และรัฐบาลอังกฤษเพิ่งเสนอกรอบการกำกับดูแล AI ขึ้นมาด้วยเช่นกัน

ทางโอเพนเอไอ ไม่ได้ให้ความเห็นต่อรอยเตอร์ในช่วงเวลาที่นำเสนอข่าวนี้

ข่าวสารเทคโนยีเพิ่มเติม : CPF มั่นใจในเทคโนฯ เสริมความมั่นคงทางอาหารตามโมเดลบีซีจี

เริ่มก่อน ขายก่อน กำไรพุ่ง…ทรู สมาร์ต เมอร์ชันต์

เริ่มก่อน ขายก่อน กำไรพุ่ง…ทรู สมาร์ต เมอร์ชันต์ พัฒนาฟีเจอร์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ช่วยพ่อค้าแม่ค้า เพิ่มโอกาส สร้างยอดขาย ขยายแพลตฟอร์มบริการเดลิเวอรี่

เทคโนโลยี

ทรู สมาร์ต เมอร์ชันต์ เดินหน้ายืนหยัดเคียงคู่ผู้ประกอบการรายย่อยอย่างต่อเนื่อง หลังจากให้บริการทรูฟู้ดเดลิเวอรี่ ส่งเมนูเด็ดจากร้านอาหารแบรนด์ดัง ร้านในตำนาน และสตรีทฟู้ดแล้ว ล่าสุดพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ มุ่งต่อยอดบริการเดลิเวอรี่ ขยายศักยภาพแพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ เกมสล็อต โดยเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มรายได้ และเพิ่มโอกาสให้กับร้านค้าครอบคลุมบริการของใช้ภายในบ้าน สินค้าอุปโภคบริโภค จากร้านค้าโชห่วย มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านแฟชั่น ร้านสินค้าไอที ร้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยา ไปจนถึงร้านในตลาดสด (ช่วงแรกให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) เพียงพ่อค้าแม่ค้าสมัครเป็นร้านค้าทรู สมาร์ต เมอร์ชันต์ ก็สามารถเปิดร้านพร้อมให้บริการเดลิเวอรี่ที่แอป True Smart Merchant และสินค้าของร้านจะพร้อมให้บริการเดลิเวอรี่ส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าผ่านแอป True Market (เดิมชื่อแอป True Food) รองรับผู้ใช้งานทุกเครือข่าย สมัครฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่เก็บค่าธรรมเนียม (GP)* ตั้งแต่ 1 ก.พ. 66 – 30 มิ.ย. 66 สมัครคลิก https://bit.ly/TrueM_PR แอดไลน์ @TrueSmartMerchant หรือโทร.1326 รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/TMLP_PR พร้อมรับสิทธิประโยชน์อีกมากมาย

ฟรี! โปรโมทร้านผ่าน SMS ถึง 500 เลขหมาย (มูลค่า 1,500.-)
รับฟรีทรูพอยท์ 100 คะแนน เมื่อเพิ่มรายการสินค้า 10 รายการขึ้นไป
ช่วยลดต้นทุนในการเดลิเวอรี่ สมัครบริการพร้อมเดลิเวอรี่ฟรี และไม่มีค่า GP
สำหรับ True Market เป็นแอปพลิเคชันบริการเดลิเวอรี่ที่พร้อมเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้กับลูกค้ายุคดิจิทัลได้อย่างหลากหลาย สะดวก ครบครันมากยิ่งขึ้น และพิเศษสำหรับลูกค้าใช้แอป True Market สั่งเดลิเวอรี่ออเดอร์แรกไม่ว่าจะเป็น True Food สั่งอาหาร หรือ True Mart สั่งสินค้าอุปโภคบริโภคและของใช้อื่นๆ รับฟรี! ทันที 100 ทรูพอยท์ ตั้งแต่วันนี้ – 15 ก.พ. 66 พร้อมรับสิทธิพิเศษดีๆ มากมาย ทั้งใช้ทรูพอยท์แลกเป็นส่วนลด, ดีลเด็ด ดีลดังลดเพียบ

อ่านข่าวเทคโนโลยี เพิ่มเติม : ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซีพีเอฟเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

CPF มั่นใจในเทคโนฯ เสริมความมั่นคงทางอาหารตามโมเดลบีซีจี

ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซีพีเอฟเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

ประสิทธิ์กล่าวว่า “ความมั่นคงทางอาหารประเทศไทยแตกต่างจากประเทศอื่น เนื่องจากไทยเป็นประเทศส่งออกอาหารเป็นหลัก มีบริษัทอาหารกว่า 10,000 แห่ง และการส่งออกอาหารของไทยในปีก่อนมีมูลค่าถึง 35,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น ไทยจึงมีปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ” แต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อไทยเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการควบคุมโคงิดเข้มงวด ผู้คนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ทางซีพีเอฟจึงมีการจัดการระบบต่างการทำงานต่าง ๆ โดยใช้วิธีบับเบิลแอนด์ซีล เป็นการยกระดับความปลอดภัยต่อพนักงานในโรงงาน

อย่างไรก็ตาม โควิดได้สอนผู้คนหลายอย่าง ซีพีเอฟ ได้พบเจอผู้นำหลายประเทศ และหลายคนได้ตระหนักถึงความเพียงพอของอาหารมากขึ้น ว่าประเทศสามารถผลิตได้มากเพียงใด เพราะการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ประชาชนเกิดความกลัวว่าภาคธุรกิจรายใหญ่อาจมีอาหารไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงก็เป็นปัจจัยที่น่ากังวลเช่นกัน

เมื่อถามว่าวิกฤตหลายอย่างในโลกจะสิ้นสุดได้หรือไม่ และเมื่อใด ประสิทธิ์ให้ความเห็นว่า “ทุกอย่างจะฟื้นเป็นปกติสักวันหนึ่ง แต่หลายอย่างจะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม เนื่องจากการค้าโลกเกิดความยากลำบาก จากภาวะโลกร้อน สงครามยูเครน และโรคระบาดหรือปัจจัยอื่น ๆ ทำให้เกิดความไม่แน่นอน ดังนั้น ในอนาคตประเทศและธุรกิจต่าง ๆ ไม่ควรโฟกัสเพียงต้นทุนต่ำสุดหรือกำไรสูงสุด แต่ควรคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ บรรดาธุรกิจจึงควรมองหาเทคโนโลยีหรือหนทางผลิตอาหารรูปแบบใหม่ด้วย”

เทคโนโลยีสมัยใหม่

ทั้งนี้ โลกมีเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์แล้ว จึงเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถในการต่อยอดสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ต้นทุนเท่าเดิมแต่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น ซีพีเอฟหวังว่าธุรกิจอาหารจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ซีพีเอฟเชื่อว่าเทคโนโยลีคือคำตอบ ช่วยให้ผลิตได้อาหารเพียงพอและราคาถูก รวมถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้พนักงาน 1 คน สามารถดูแลไก่ได้มากกว่า 10,000 ตัวแล้ว เนื่องจากจากอดีตที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ทำให้พนักงาน 1 คน สามารถดูแลไก่ได้เพียง 100 ตัว

ประสิทธิ์เผยว่า “ซีพีเอฟยึดมั่นในหลักการ ‘3 High 1 Low’ และหนึ่งใน 3 high คือ การลงทุนเทคโนโลยีจำนวนมาก จับตาดูเทรนด์อาหารใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและดุแนวโน้มของผู้บริโภคเสมอ”

นอกจากนี้ ประสิทธิ์แนะนำว่า หากอยากใช้ประโยชน์ที่ดินให้ยั่งยืน ควรดูห่วงโซ่คุณค่าของบริษัททั้งหมด (Whole Value Chains) และดูว่าจะสร้างคุณค่าจากสินค้าในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดอย่างไร ควรคำนึ่งถึงหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช่ให้ความสำคัญแต่สายการผลิตเดียว เนื่องจากปรัชญาของซีพีเอฟคือ การทำธุรกิจระยะยาว ต้องคำนึงถึงห่วงโซ่คุณค่าของบริษัททั้งหมด ตั้งแต่การผลิตส่วนแรกไปจนถึงการจำหน่ายสินค้า

นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ มีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมากขึ้น ประสิทธิ์คาดว่า “คนรุ่นใหม่อาจมีศักยภาพมากกว่าคนรุ่นตนเอง และค่อนข้างโชคดีที่ไทยตระหนักถึงความยั่งยืนเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ประเทศไทยนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีในปีนี้”

อย่างไรก็ตาม พวกเราทุกคนไม่สามารถคาดเดาได้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรกับความมั่นคงทางอาหาร แต่สำหรับซีพีเอฟมักจะคอยสำรวจตลาดอยู่เสมอ และพยายามรักษาภาคการผลิตเนื้อสัตว์อย่างยั่งยืนมากขึ้นเท่าที่เป็นไปได้ ควบคู่กับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้เช่นกัน และบริษัทเริ่มใช้พลังงานสะอาดในการผลิตมากขึ้นแล้ว ซีพีเอฟเชื่อว่าบรรดาธุรกิจต่าง ๆ จะดำเนินธุกิจอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต